เงินสํารองฉุกเฉิน ควรมีเท่าไหร่ถึงจะดี ?

news

 

ฉุกเฉินแค่ไหน ถึงเรียกว่าฉุกเฉิน!?

                     ฉุกเฉินทั้งปี เอาเงินที่เก็บมาใช้ก็ไม่เรียกว่าเงินเก็บสำรองฉุกเฉินแล้ว ASN Finance พาไปสำรวจเงินสำรองฉุกเฉิน เริ่มเก็บยังไง ควรมีเท่าไหร่ถึงจะดี แล้วฉุกเฉินแค่ไหน ถึงเรียกว่าฉุกเฉิน? พร้อมแนะนำแหล่งกู้สินเชื่อรถยนต์ถูกกฎหมาย ส่งเอกสารครบ อนุมัติไว มีเงินใช้วันที่ฉุกเฉินจริง ๆ 

ฉุกเฉินแค่ไหน ถึงเรียกว่าฉุกเฉิน ? 

1.ว่างงาน เช่น ตกงานกะทันหัน หรือออกงานจากงานโดยเร่งด่วน 

2.เจ็บป่วยกะทันหัน เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่ายารักษาโรค

3.ประสบอุบัติเหตุ เช่น รถชน ค่าซ่อมแซมรถยนต์ ค่าเสียหายคู่กรณี ค่าขึ้นศาล ค่าทนาย  

4.ประสบภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือโรคระบาด เช่น Covid-19

5.ปัญหาการเงินเร่งด่วน เช่น ค่าใช้จ่ายที่ต้องส่งช่วยเหลือที่บ้าน

6.อื่น ๆ เช่น ขโมยขึ้นบ้าน รถเสียฉุกเฉิน
 

เงินสำรองฉุกเฉินควรมีเท่าไหร่ถึงจะดี?

                     ถ้าเอ่ยถึงสภาพคล่องทางการเงินของแต่ละคนก็คงมีไม่เหมือนกัน บางคนเงินเดือนสูง ไม่มีเงินเก็บ บางคนเก็บเงินเก่งแม้เงินเดือนน้อย ซึ่งเงินสำรองฉุกเฉิน ต้องมีสภาพคล่องสูง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอัตราเงินเดือนแต่อย่างใด คราวนี้ ASN Finance ลองจำแนกประเภทอาชีพมาให้เห็นภาพคร่าว ๆ ว่างานประเภทใด ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินควรมีเท่าไหร่ถึงจะดี?

1.พนักงานข้าราชการ

                     พนักงานข้าราชการแม้ว่าการงานจะมีความมั่นคง และฐานเงินเดือนแข็งแรง พร้อมกับกองทุนเสริมต่าง ๆ มากกว่าสายอาชีพอื่น แต่ก็ยังต้องมีเงินสำรองเก็บเอาไว้เผื่อช่วงเวลาฉุกเฉิน โดยเฉพาะเมื่อยามเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน นอกเหนือสิทธิต่าง ๆ ที่ได้รับจากสวัสดิการข้าราชการ ประมาณ 3-5 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน เช่น นาย ก. มีค่าใช้จ่ายรายเดือนอยู่ที่ 15,000 บาทในสถาการณ์ปกติ ดังนั้น นาย ก. ควรมี เงินสำรองฉุกเฉิน 45,000 บาทขึ้นไป เป็นจำนวนที่สามารถรับได้และถ้าสะสมเงินสำรองเพิ่มได้มากกว่านี้ก็ถือว่าดีที่สุด

2.พนักงานประจำ

                     พนักงานประจำชาวออฟฟิศที่ตื่นเช้าเข้างานปกติ ถือว่าสภาพคล่องทางการเงินไม่ฝืดขัด และไม่ได้มั่นคงเท่าพนักงานข้าราชการ ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินมากกว่าค่าใช้จ่ายรายเดือน 6-9 เดือน เผื่อว่าวันใดวันหนึ่งอาจลาออกตกงานกะทันหัน หรือมีเหตุฉุกเฉินที่ต้องออกจากงานประจำ ยังมีเงินสำรองฉุกเฉินเป็นตัวช่วยในการหางานใหม่ เช่น นาย ข. ออกจากงานประจำ ใช้จ่ายประจำเดือนอยู่ที่ 10,000 บาท ควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน 60,000 บาทขึ้นไป

3.ฟรีแลนซ์

                     ฟรีแลนซ์เป็นอาชีพที่คนรุ่นใหม่ใฝ่ฝันอยากทำมากที่สุด เพราะได้เป็นนายตัวเอง หากจัดการบริหารเวลาให้ดีก็สามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเองได้มากเท่ากับพนักงานราชการและพนักงานประจำ แต่ความมั่นคงอาจยังไม่สู้กับสายงานอื่น ๆ เพราะถ้าไม่มีคนจ้างก็เท่ากับว่ารายได้หายไป อาชีพฟรีแลนซ์จึงต้องเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินเอาไว้ มากกว่าค่าใช้จ่ายต่อเดือน 10 เดือนขึ้นไป เช่น นาย ค. เป็นฟรีแลนซ์ มีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 20,000 บาท ควรมีเงินสำรองฉุกเฉิน 200,000 บาทขึ้นไปเป็นอย่างต่ำ 

 

เงินสำรองฉุกเฉิน เริ่มเก็บยังไง?

                     อย่างที่กล่าวไปเบื้องต้น เงินสำรองฉุกเฉิน ต้องมีสภาพคล่องสูง สามารถหยิบออกมาใช้เมื่อไหร่ก็ได้ในช่วงที่ฉุกเฉินเท่านั้น โดยแบ่งออกจากค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็น สำหรับคนที่วางแผน เก็บเงินสำรองฉุกเฉินสามารถทำตามนี้ได้ 

 แบ่งเก็บเงินเป็นสัดส่วน 50-30-20

เทคนิคเก็บเงินแบบแบ่งใช้ 50 - 30 - 20สามารถช่วยต่อยอดเรื่องการออมเงิน และยั่งยืนในอนาคตได้ โดยแบ่งเงินเดือนออกเป็น 3 ก้อนได้แก่ 

ก้อนแรก - 50% แบ่งไว้ใช้สำหรับรายจ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าผ่อน/เช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าน้ำมัน  ค่าอาหาร ชำระหนี้ หรืออื่นๆตามความจำเป็น หากพบว่ามีรายจ่ายที่จำเป็นเกินกว่า 50% ของรายได้ อาจจะต้องจำกัดรายจ่ายในส่วนใดที่จะลดลงได้ และไม่ส่งผลกระทบต่อความจำเป็นในชีวิตประจำวันของเราได้

ก้อนที่สอง - 30% แบ่งไว้ใช้สำหรับรายจ่ายสำหรับซื้อความสุข

ก้อนที่สาม - 20% แบ่งไว้ใช้ในยามฉุกเฉินในอนาคต โดยแบ่งออกเป็น 2 ก้อนย่อย คือ ใช้จ่ายสำรองยามฉุกเฉิน 10% และเอาไว้ลงทุนระยะยาว 10%

                     สิ่งที่จะช่วยให้มีกำลังใจในการแบ่งเงิน  ก็คงเป็นความมั่นคงในอนาคตที่ไม่รู้เลยว่าจะมีเหตุฉุกเฉินอะไรที่จำเป็นต้องใช้เงินออมบ้าง เก็บมาก ก็มีมาก ค่อย ๆ เก็บ ค่อย ๆ มี อย่างน้อยหากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น ยังมีเงินก้อนที่พยุงเราไว้ได้

 


 

                     เงินสะดุด จนสุดแล้วทุกบาท ต้องการเงินก้อนใหญ่ มองหาแหล่งกู้สินเชื่อรถยนต์ถูกกฎหมาย ส่งเอกสารครบ อนุมัติไว ที่ ASN Finance ให้บริการสินเชื่อรถยนต์ เปลี่ยนรถยนต์เป็นเงินก้อน รถผ่อนอยู่ก็ขอกู้ได้ ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.69% ต่อเดือน* สนใจเช็กวงเงินขอกู้ได้ที่หน้าเว็บไซต์ www.asnfinance.com ยื่นเอกสารออนไลน์ ไม่ต้องไปสาขา รับทราบภายในวันยื่นเรื่อง รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ นัดทำสัญญาถึงที่ รับก้อนไปใช้ทันเหตุการณ์!

* กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว l อัตราดอกเบี้ยต่อปี 15%-24% 
เงื่อนไขและการพิจารณาสินเชื่อ เป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

 

ที่มาข้อมูล : ชับบ์ / คปภ. / ธนาคารกสิกรไทย   

แชร์บทความนี้

บทความอื่นๆ


news

เปลี่ยนทะเบียนรถใหม่ แต่ติดไฟแนนซ์ ทำยังไง?

อยากเปลี่ยนเลขทะเบียนรถยนต์ แต่ยังติดไฟแนนซ์อยู่ ต้องทำยังไง? ASN Finance มาแชร์ขั้นตอนเปลี่ยนทะเบียนรถใหม่ที่ถูกต้อง อ่านต่อ >

news

คำถามสุดฮิต! ติดไฟแนนซ์ แจ้งเปลี่ยนสีรถได้ไหม?

ใครเคยเอารถเข้าไฟแนนซ์ก็คงรู้ดีว่ากว่าอนุมัติ ต้องตรวจสอบความถูกต้องละเอียดมากแค่ไหน ASN Finance ตอบคำถามสุดฮิต! ติดไฟแนนซ์ แจ้งเปลี่ยนสีรถได้ไหม? ในบทความนี้กัน อ่านต่อ >

news

รู้แล้วไม่เครียด! เป็นหนี้ ไม่มีทางออก ทําไงดี?

สังเกตอาการที่ส่งสัญญาณไปต่อไม่ไหว “เป็นหนี้เกินตัว” ค้างชำระนานจนมีหนี้ก้อนโต ASN Finance ชี้ทางให้ เป็นหนี้ ไม่มีทางออก ทําไงดี? อ่านต่อ >