รู้แล้วไม่เครียด! เป็นหนี้ ไม่มีทางออก ทําไงดี?

news

 

                    ASN Finance พาสังเกตอาการที่ส่งสัญญาณไปต่อไม่ไหว “เป็นหนี้เกินตัว” หากค้างชำระนาน ล้วนส่งผลเสียในอนาคต ทั้งโอกาสในการทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ทำไมต้องรีบเคลียร์หนี้สิน แล้วเป็นหนี้ก้อนโต ไม่มีทางออก ทําไงดี? ไปดูพร้อมกันได้ในบทความนี้ 

 

สัญญาณไปต่อไม่ไหว เป็นหนี้เกินตัว

1.ใช้เงินแบบเดือนชนเดือน

                    เมื่อไหร่ก็ตามที่ขาดสภาพคล่อง เริ่มมีค่าใช้จ่ายแบบเดือนชนเดือน วงเงินแต่ละเดือนไม่พอใช้จนต้องเริ่มยืมเงินคนใกล้ตัวมาใช้จ่ายก่อน แล้วค่อยคืนตอนเงินเดือนออก ถือว่าเป็นสัญญาณที่บอกได้ชัดเจนว่าเป็นหนี้เกินตัว

2.ผ่อนจ่ายขั้นต่ำจนเป็นนิสัย 

                    สัญญาณเตือนเป็นหนี้เกินตัวที่ต้องหมั่นเช็กให้ดี คือ การผ่อนหนี้ หากมีการจ่ายขั้นต่ำ เพราะยังไม่สามารถคืนเงินเต็มจำนวน นั่นแสดงว่า ดอกเบี้ยที่ทบยอดก็สูงขึนเรื่อย ๆ แม้ว่าจะไม่รู้ตัว หรือรู้ตัวดีก็ตาม แต่ไม่สามารถจ่ายหนี้ผ่อนคืนเต็มจำนวนถือว่าอันตราย 

3.ไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน

                    หลังขาดสภาพคล่องทางการใช้จ่าย จนไม่สามารถชำระหนี้ตรงงวด หรือจ่ายขั้นต่ำเป็นนิสัย แสดงว่าไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน ซึ่งเงินก้อนนี้ถือว่าขาดไม่ได้สำหรับเอาไว้ใช้ยามจำเป็นหากมีเรื่องฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วย ประสบอุบัติเหตุ ต้องมีเหตุอื่นที่ต้องใช้จ่าย ดังนั้น การใช้จ่ายที่ปราศจากเงินเก็บสำรองฉุกเฉินเป็นสัญญาณชัดเจนที่บอกว่า ท่านกำลังไปต่อไม่ไหว เป็นหนี้เกินตัว

 

ทำไมต้องรีบเคลียร์หนี้สิน

1.ติดเครดิตบูโร

                    เครดิตบูโร เท่ากับ “ข้อมูลสุขภาพการเงิน” หากท่านมีประวัติเครดิตบูโร ชำระหนี้ไม่ตรงกำหนด  แสดงว่าความสามารถในการทำสินเชื่อประเภทต่าง ๆ เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อรถยนต์ หรือการทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ มีโอกาสที่จะโดนปัดตก ยื่นกู้ไม่ผ่าน อาจใช้ระยะเวลาหลายปีกว่าเครดิตจะกลับมาดี หรือจนกว่าจะเคลียร์หนี้สินไปจนหมด 

2.ถูกฟ้องร้องคดีแพ่ง

                    แน่นอนว่าการเป็นหนี้ หากไม่มีความสามารถในการชำระคืน จะโดนยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อพิจารณาคดี ถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้องคดีแพ่ง เป็นผู้มีคดีติดตัว และต้องเสียเวลาในการดำเนินการไปชั้นศาล

3.โดนยึดทรัพย์ และอายัดเงินเดือน

                    กรณีที่เข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีแล้ว และมีตัดสินให้ท่าน ในฐานะลูกหนี้แพ้คดี จะมีทางเลือกให้เลือกอยู่ 2 วิธีหลัก ๆ หากไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ คือ โดนยึดทรัพย์ และอายัดเงินเดือน นั่นแปลว่า ทรัพย์สินที่ถือครองอยู่จะโดนยึดไป และเงินเดือนจะโดนอายัดตามกฎหมาย  

 

5 วิธีแก้หนี้ รู้แล้วไม่เครียด 

1.ไม่สร้างหนี้ใหม่

                    หากรู้ตัวว่าเป็นหนี้ และไม่อยากทบยอดหนี้ไปเรื่อย ๆ ไม่ควรสร้างหนี้ใหม่ พยายามรวบรวมหนี้ให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน ส่วนไหนที่ต้องรีบผ่อนจ่ายจากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนไหนที่ยังสามารถเจรจากับทางเจ้าหนี้ได้ 

2.ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

                    ถ้ารู้ตัวว่าเป็นหนี้จากความฟุ่มเฟือยหรือมีรายจ่ายบางส่วนที่อาจจะยังไม่จำเป็นให้จัดส่วนนั้นทิ้ง แล้วคำนวนการใช้จ่ายที่จำเป็นตลอดทั้งเดือนให้รอบคอบ แบ่งเงินออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้เห็นภาพรวมได้ง่ายว่า ส่วนไหนเก็บ ส่วนไหนใช้ ส่วนไหนไม่ต้องมีก็ได้

3.ติดต่อธนาคาร / สถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้

                    หากรู้ล่วงหนี้ว่าไม่สามารถที่ชำระหนี้ได้ตามกำหนด ให้รีบติดต่อธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้เพื่อปรึกษา หรือเจรจรผ่อนผันเรื่องวันชำระหนี้ เพราะอย่างน้อยทางธนาคาร หรือสถาบันการเงินจะได้รับทราบถึงความประสงค์ของท่าน รักษาสิทธิ์ในการติดเครดิตบูโร

4.ปรับโครงสร้างหนี้ ลดดอกเบี้ย

                    เมื่อติดต่อธนาคาร หรือสถาบันการเงินได้แล้ว ท่านในฐานะลูกหนี้สามารถเจรจาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ยืดระยะเวลาชำระหนี้ ลดดอกเบี้ยที่อาจสูงขึ้นเรื่อย ๆ ได้ 

5.มีเงินก้อนให้รีบโปะหนี้

                    สำหรับคนที่มีเงินก้อนสำรองใช้ หากเป็นไปได้ให้รีบโปะหนี้ ป้องกันดอกเบี้ยสูง หรือถ้าเป็นช่วงที่เงินเดือนออกให้รีบหักเงินมาจ่ายหนี้ก่อน จ่ายให้ตรงเวลา ตัดเงินต้นและประหยัดดอกเบี้ยได้เยอะ

 

                    รู้แบบนี้แล้ว… ไม่ต้องเครียด เป็นหนี้ ย่อมมีทางออก เมื่อไหร่ที่รู้ตัวว่ามีหนี้เกินตัว ให้เตรียมพร้อม รอรับสถานการณ์ให้ดี หากท่านมีรถยนต์แล้วต้องการเงินก้อนมาโปะหนี้เดิม ASN Finance ช่วยได้! สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ รับรถยนต์อายุไม่เกิน 20 ปี ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.69% ต่อเดือน* ไม่ต้องหาคนค้ำ ไม่ต้องโอนเล่มทะเบียน ส่งเอกสารครบ อนุมัติไว ไม่ต้องรอนาน!

 

ข้อมูลจาก : คปภ.

แชร์บทความนี้

บทความอื่นๆ


news

เปลี่ยนทะเบียนรถใหม่ แต่ติดไฟแนนซ์ ทำยังไง?

อยากเปลี่ยนเลขทะเบียนรถยนต์ แต่ยังติดไฟแนนซ์อยู่ ต้องทำยังไง? ASN Finance มาแชร์ขั้นตอนเปลี่ยนทะเบียนรถใหม่ที่ถูกต้อง อ่านต่อ >

news

คำถามสุดฮิต! ติดไฟแนนซ์ แจ้งเปลี่ยนสีรถได้ไหม?

ใครเคยเอารถเข้าไฟแนนซ์ก็คงรู้ดีว่ากว่าอนุมัติ ต้องตรวจสอบความถูกต้องละเอียดมากแค่ไหน ASN Finance ตอบคำถามสุดฮิต! ติดไฟแนนซ์ แจ้งเปลี่ยนสีรถได้ไหม? ในบทความนี้กัน อ่านต่อ >

news

หนี้ท่วมหัว กลัวโดนยึด! เป็นหนี้เท่าไหร่ถึงโดนยึดทรัพย์ ?

ปัญหาปวด Head หนี้ท่วมหัว ทำยังไงดี? เจ้าหนี้มีสิทธิ์ยึดอะไรจากลูกหนี้ได้บ้าง ASN Finance ไขข้อข้องใจ เป็นหนี้เท่าไหร่ถึงโดนยึดทรัพย์ อ่านต่อ >